ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัด

ประเภทของ RAM เเละ ROM 

RAM โดยทั่วไปแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. Static Random Access Memory ( SRAM )
            คือ RAM ซึ่งเก็บรักษาข้อมูลบิตไว้ในหน่วยความจำของมันตราบเท่าที่ยังมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงอยู่ ไม่เหมือนกับดีแรม (DRAM) ที่เก็บข้อมูลไว้ในเซลซึ่งประกอบขึ้นด้วยตัวเก็บประจุหรือคาปาซิเตอร์(Capacitor) และทรานซิสเตอร์ (Transistor)




2. Dynamic Random Access Memory ( DRAM )
            คือ RAM หรือ หน่วยความจำชนิดปกติสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีและเครื่องเวิร์คสเตชั่น(Workstation) ลักษณะของ DRAM จะเป็นคล้ายกับเครือข่ายของประจุไฟฟ้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เก็บข้อมูลในรูปของ "0" และ "1" ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายๆ         ประเภทของ DRAM ในท้องตลาดแบ่งได้เป็น 4 ประเภทหลัก 


                        2.1)  FPM DRAM
                                    เป็น RAM ชนิดที่ใช้กับ PC ในยุคเริ่มต้น โดยมีรูปแบบคือ SIMM (Single Inline Memory Modules)ปกติจะมีแบบ SIMM ละ 2, 4, 8, 16 และ 32 MB โดยมีค่า refresh rate ของวงจรอยู่ที่ 60 และ 70 nana sec.โดยค่า refresh ที่น้อยกว่าจะความเร็วมากกว่า
                        2.2)  EDO DRAM
                                    เป็นชนิดที่ปรับปรุงมาจาก FPM โดยมีการปรับปรุงเรื่องการอ่านข้อมูล โดยทั่วไปแล้วการอ่านข้อมูลจาก RAM จะต้องระบุตำแหน่งแนวตั้ง และแนวนอนให้แก่วงจร RAM ถ้าเป็นชนิด FPM แล้วต้องระบุแนวใดแนวหนึ่งให้เสร็จเสียก่อน แล้วจึงระบุอีกแนวหนึ่ง แต่ EDO สามารถระบุค่าตำแหน่งในแนวตั้ง (CAS) และแนวนอน(RAS) ได้ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน หรือพร้อมกันได้
                        2.3)  SDRAM
                        เป็น RAM ชนิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน โดย 1 DIMMs จะมี 168 ขา และส่งข้อมูลได้ทีละ 64 บิต ทำให้ SDRAM แผงเดียวก็สามารถทำงานได้ เวลาในการเข้าถึงข้อมูลของ SDRAM จะมีค่าประมาณ6-12 n Sec. ปัจจุบัน SDRAM สามารถทำงานได้ที่ความถี่ 66, 100 และ 133 MHz
                        2.4)  RAMBUS
                        พัฒนามาจาก DRAM แต่มีการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในใหม่ทั้งหมด มีการเปลี่ยนแปลงระบบการเข้าถึงข้อมูลภายใน RAM ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้หลักการ “Pre-fetch” หรืออ่านข้อมูลล่วงหน้าโดยระหว่างนั้น CPU สามารถทำงานอื่นไปพร้อม  กันด้วย packet ของ RAMBUS จะเรียกว่า RIMMs (Rambus Inline Memory Modules) ซึ่งมี 184 ขา
                                    RAMBUS ทำงานกับไฟกระแสตรง 2.5 V ภายใน 1 RIMMs (Rambus Inline Memory Modules)จะมีวงจรสำหรับควบคุมการหยุดจ่ายไฟแก่แผงวงจรหน่วยความจำย่อยของ RAMBUS ซึ่งยังไม่ถูกใช้งานขณะนั้น เพื่อช่วยให้ความร้อนของ RAMBUS ลดลง และวงจรดังกล่าวจะทำหน้าที่ลดความเร็วของ RAMBUS ลงหากพบว่าความร้อนของ RAMBUS ขณะนั้นสูงเกินไป
            แผงวงจรหน่วยความจำย่อยของ RAMBUS 1 แผงจะรับ-ส่งข้อมูลทีละ 16 บิต โดยใช้ความถี่ 800MHz ซึ่งเกิดจากความถี่ 400 MHz แต่ทำงานแบบ DDR (Double Data Rate) ทำให้ได้ bandwidth ถึง 1.6GB/Sec. และจะมี bandwidth สูงถึง 6.4 GB/Sec. ถ้าใช้แผงวงจรย่อย 4 แผง


ประเภทของ ROM

Rom มีทั้งหมด 3 ประเภทครับ ประกอบไปด้วย
- PROM (Programable ROM) เป็น ROM ที่สามารถ program ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ไม่สามารถลบข้อมูลได้ครับ ต่อมาจึงมีการพัฒนา ROM อีกประเภทหนึ่งที่สามารถช่วยให้ลบข้อมูลได้ ซึ่งก็คือ- EPROM (Erasable PROM) โดยมันจะทำการลบข้อมูลโดยใช้รังสี Ultraviolet ที่มีความแรง (แสงอาทิตย์ไม่เพียงพอที่จะลบข้อมูลได้ เพียงแต่เราควรป้องกันไม่ให้ EPROM โดนแสงแดดเพราะอาจจะทำให้ข้อมูลบางอย่างหายไปได้ ถึงแม้ว่าแสงอาทิตย์จะมี ultraviolet ที่ไม่แรงก็ตาม) การลบข้อมูลของมันอาจจะนำไปใส่กล่องหรืออุปกรณ์ที่มีรังสี  ultraviolet ที่มีความแรงสูงครับ แต่ในวิธีการลบข้อมูลของ EPROM ค่อนข้างจะยุ่งยาก เนื่องจากจะต้องนำ ROM ออกมาเพื่อไปล้างข้อมูลในกล่องหรืออุปกรณ์บางอย่าง จึงทำให้เขาพัฒนาอีกประเภทหนึ่งขึ้นมาคือ- EEPROM (Electrically Erasable PROM) ซึ่งช่วยให้เราสามารถใช้กระแสไฟฟ้าในการลบข้อมูลได้แทนการใช้รังสี ultraviolet ครับ แต่รู้สึกว่า ROM ประเภทนี้จะมีราคาค่อนข้างแพงเนื่องจากมันจะทำการลบเป็นทีละ bit ดังนั้นเขาจึงพัฒนา technology ใหม่ขึ้นมาที่ชื่อว่า FLASH Technology

ถ้ามีอะไรผิดพลาด หรือขาดตกบกพร่องช่วยชี้แนะเพิ่มเติมด้วยครับ (เพราะผมก็เป็นผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนก็อาจผิดพลาดกันได้ครับ) พร้อมรับคำติครับ

ระบบฐานข้อมูล (DATABASE SYSTEMS)

ระบบฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันและถูกนำมาจัดเก็บในที่เดียวกัน โดยข้อมูลอาจเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลเดียวกันหรือแยกเก็บหลาย  แฟ้มข้อมูล แต่ต้องมีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเพื่อประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูลในการจัดเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูลมีข้อดีกว่าการจัดเก็บข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลพอสรุปประเด็นหลัก  ได้ดังนี้
· มีการใช้ข้อมูลร่วมกัน (data sharing)
· ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล (reduce data redundancy)
· ข้อมูลมีความถูกต้องมากขึ้น (improved data integrity)
· เพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูล (increased security)
· มีความเป็นอิสระของข้อมูล (data independency)
            ในการประกอบธุรกิจจะมีข้อมูลต่างๆเกิดขึ้นมากมาย ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลลูกค้า  ข้อมูลการสั่งของ ข้อมูลพนักงาน ฯลฯ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะต้องมีการเก็บรักษาที่ดี นอกจากนั้นในการตัดสินใจต่างๆจะมีข้อมูลที่ต้องใช้ประมวลผลเพื่อประกอบการตัดสินใจเป็นจำนวนมาก การนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้นั้น ถ้าไม่ได้มีการจัดระเบียบการเก็บที่ดี ก็ย่อมนำมาใช้ได้อย่างยากลำบาก
ทำไมต้องมีระบบฐานข้อมูล
            ระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพจะมีหน้าที่หลักๆดังต่อไปนี้
          การเก็บรักษาข้อมูล ระบบฐานข้อมูลจะช่วยให้การเก็บรักษาข้อมูลเป็นระบบระเบียบ มีการจัดหมวดหมู่ของข้อมูล ซึ่งจะให้ผู้จัดเก็บทำงานได้สะดวกมากขึ้น และป้องกันความผิดพลาดได้
          การนำข้อมูลไปใช้ ข้อนี้จะเป็นหัวใจของระบบฐานข้อมูลเลยทีเดียว ระบบฐานจะทำให้การดึงข้อมูลออกมาใช้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น การสรุปข้อมูลและประมวลผลต่างๆจะทำได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะทำให้สามารถนำข้อมูลไปประกอบการตัดสินใจได้ ยกตัวอย่างเช่น การเก็บข้อมูลใบสั่งของจากลูกค้า ถ้าเราเก็บโดยไม่มีระบบเช่นเก็บสำเนาใบเสร็จทั้งหมดไว้ เราก็จะมีเพียงหลักฐานว่าใครสั่งอะไรไปบ้างเท่านั้น แต่ถ้ามีการเก็บลงระบบฐานข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้คอมพิวเตอร์เข้าช่วย เราจะสามารถดึงข้อมูลสรุป ต่างๆออกมาใช้ได้ เช่น สามารถรวบรวมได้ว่า ลูกค้ารายนี้ สั่งอะไรบ้าง สินค้ารายการนี้ถูกสั่งไปเท่าไร เหลืออีกเท่าไร ฯลฯ
          การแก้ไขข้อมูล เป็นอีกความสามารถหนึ่งที่ระบบฐานข้อมูลจะช่วยให้ทำงานสะดวกขึ้น ยกตัวอย่างเช่น จากข้อที่แล้วตัวอย่างใบสั่งของ ถ้าลูกค้ามีการเปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ เราก็สามารถแก้ทีเดียวได้ โดยไม่ต้องเข้าไปแก้ในใบสั่งของแต่ละใบ เป็นต้น
            ซึ่งจากหน้าที่ของระบบฐานข้อมูลจะทำให้เห็นว่า การเก็บข้อมูลอย่างมีระบบกับไม่มีนั้น มีความสามารถและประโยชน์ใช้สอยต่างกันมาก ซึ่งก็คงจะทำให้เห็นประโยชน์ของฐานข้อมูลเด่นชัดขึ้น
ระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
            อันที่จริงแล้วนั้น ระบบฐานข้อมูลไม่จำเป็นจะต้องอิงกับคอมพิวเตอร์เสมอไป ยกตัวอย่างเช่น ระบบบัตรทะเบียนหนังสือในห้องสมุด ระบบบัตรคนไข้ ฯลฯ แม้แต่การที่เราจดบันทึกหมายเลขโทรศัพท์ของเพื่อน ก็ถือได้ว่าเป็นระบบฐานข้อมูลอย่างหนึ่ง  ซึ่งระบบดังกล่าวนี้ ถ้ามีการใช้หลักของการจัดการฐานข้อมูลที่ถูกต้องแล้วละก็ จะสามารถมีความสะดวกในการใช้สอยได้ในระดับหนึ่ง
            แต่ทว่าในปัจจุบันเมื่อเราพูดถึงระบบฐานข้อมูล เราก็มักจะนึกถึงระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการฐานข้อมูลนั้น อาจพูดได้ว่า เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ที่ตรงกับข้อเด่นที่สุดของคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่ง ก็คือ ใช้กับงานที่มีการทำซ้ำเป็นจำนวนมาก มีการประมวลผลที่เป็นระบบ ซึ่งคอมพิวเตอร์จะไม่มีความผิดพลาดอันเกิดจากการเหนื่อยล้าหรือเบื่อหน่าย
รูปแบบของระบบฐานข้อมูล
รูปแบบของระบบฐานข้อมูล มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ
1. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database)
       เป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบที่เป็นตาราง (Table) หรือเรียกว่า รีเลชั่น (Relation) มีลักษณะเป็น 2 มิติ คือเป็นแถว (row) และเป็นคอลัมน์ (column) การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างตาราง จะเชื่อมโยงโดยใช้แอททริบิวต์ (attribute) หรือคอลัมน์ที่เหมือนกันทั้งสองตารางเป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูล ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์นี้จะเป็นรูปแบบของฐานข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
2. ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network Database)


ฐานข้อมูลแบบเครือข่ายจะเป็นการรวมระเบียนต่าง ๆ และความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนแต่จะต่างกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ คือ ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะแฝงความสัมพันธ์เอาไว้ โดยระเบียนที่มีความสัมพันธ์กันจะต้องมีค่าของข้อมูลในแอททริบิวต์ใดแอททริบิวต์หนึ่งเหมือนกัน แต่ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย จะแสดงความสัมพันธ์อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น
3. ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น (Hierarchical Database)
ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น เป็นโครงสร้างที่จัดเก็บข้อมูลในลักษณะความสัมพันธ์แบบพ่อ-ลูก (Parent-Child Relationship Type : PCR Type) หรือเป็นโครงสร้างรูปแบบต้นไม้ (Tree) ข้อมูลที่จัดเก็บในที่นี้ คือ ระเบียน (Record) ซึ่งประกอบด้วยค่าของเขตข้อมูล (Field) ของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ
         ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นนี้คล้ายคลึงกับฐานข้อมูลแบบเครือข่าย แต่ต่างกันที่ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น มีกฎเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งประการ คือ ในแต่ละกรอบจะมีลูกศรวิ่งเข้าหาได้ไม่เกิน 1 หัวลูกศร

นิยามและคำศัพท์พื้นฐานเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล
บิท (Bit) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด
ไบท์ (Byte) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่กิดจากการนำบิทมารวมกันเป็นตัวอักขระ (Character)
เขตข้อมูล (Field) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่ประกอบขึ้นจากตัวอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปมารวมกันแล้วได้ความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ชื่อ ที่อยู่ เป็นต้น
ระเบียน (Record) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนเอาเขตข้อมูลหลาย ๆ เขตข้อมูลมารวมกัน เพื่อเกิดเป็นข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ข้อมูลของนักศึกษา 1 ระเบียน (1 คน) จะประกอบด้วย
รหัสประจำตัวนักศึกษา 1 เขตข้อมูล
ชื่อนักศึกษา 1 เขตข้อมูล
ที่อยู่ 1 เขตข้อมูล
แฟ้มข้อมูล (File) หมายถึงหน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำข้อมูลหลาย ๆ ระเบียนที่เป็นเรื่องเดียวกันมารวมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลนักศึกษา แฟ้มข้อมูลลูกค้า แฟ้มข้อมูลพนักงาน

ส่วนในระบบฐานข้อมูล มีคำศัพท์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องดังนี้
เอนทิตี้ (Entity) หมายถึง ชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ได้แก่ คน สถานที่ สิ่งของ การกระทำ ซึ่งต้องการจัดก็บข้อมูล
ไว้ เช่น เอนทิตี้ลูกค้า เอนทิตี้พนักงาน
- เอนทิตี้ชนิดอ่อนแอ (Weak Entity) เป็นเอนทิตี้ที่ไม่มีความหมาย หากขาดเอนทิตี้อื่นในฐานข้อมูล
แอททริบิวต์(Attribute) หมายถึง รายละเอียดข้อมูลที่แสดงลักษณะและคุณสมบัติของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ เช่น
เอนทิตี้นักศึกษา ประกอบด้วย - แอทริบิวต์รหัสนักศึกษา
- แอททริบิวต์ชื่อนักศึกษา
- แอททริบิวต์ที่อยู่นักศึกษา
ความสัมพันธ์ (Relationships) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้นักศึกษาและเอนทิตี้คณะวิชา เป็นลักษณะว่า นักศึกษาแต่ละคนเรียนอยู่คณะวิชาใดคณะวิชาหนึ่ง
ในการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ เราจะใช้หัวลูกศรเพื่อแสดงความสัมพันธ์ ดังตัวอย่างในรูปต่อไปนี้
รูปที่ 1.1 คณะวิชา ß ----------à à นักศึกษา (คณะวิชามีความสัมพันธ์กับนักศึกษา)
ในการระบุความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ จะกำหนดโดยใช้หัวลูกศร และหากพิจารณาความสัมพันธ์จากเอนทิตี้นักศึกษาไปยังเอนทิตี้คณะวิชา อาจจะกำหนดความสัมพันธ์ได้ดังนี้
รูปที่ 1.2 คณะวิชา ----------------à นักศึกษา (นักศึกษาสังกัดอยู่คณะวิชา)
และหากพิจารณาความสัมพันธ์จากเอนทิตี้คณะวิชาไปยังเอนทิตี้นักศึกษา อาจกำหนดความสัมพันธ์ได้ดังนี้
รูปที่ 1.3 คณะวิชา --------------à à นักศึกษา (คณะวิชาประกอบด้วยนักศึกษา)
จากรูปที่ 1.2 จะเห็นได้ว่า นักศึกษา 1 คนจะสามารถสังกัดอยู่ได้เพียง 1 คณะวิชา แต่จากรูปที่ 1.3 จะเห็นได้ว่า 1 คณะวิชาสามารถประกอบด้วยนักศึกษาหลาย ๆ คน
ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง ( One - to - One Relationship )
เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลของเอนติตี้หนึ่งว่า มีความสัมพันธ์กับข้อมูลอย่างมากหนึ่งข้อมูลกับอีกเอนติตี้หนึ่งในลักษณะที่เป็นหนึ่งต่อหนึ่ง เช่น เอนติตี้นักศึกษา กับเอนติตี้โครงงานวิจัยมีความสัมพันธ์กันแบบหนึ่งต่อหนึ่ง คือ นักศึกษาแต่ละคนทำโครงงานวิจัยได้ 1 โครงงานเท่านั้น และแต่ละ

ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม ( One - to - Many Relationship )
เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลของเอนติตี้หนึ่งว่ามีความสัมพันธ์กับข้อมูลหลายข้อมูลกับอีกเอนติตี้หนึ่ง เช่น ความสัมพันธ์ของลูกค้าและคำสั่งซื้อเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม คือ ลูกค้าแต่ละคนสามารถสั่งซื้อได้หลายคำสั่งซื้อ แต่แต่ละคำสั่งซื้อมาจากลูกค้าเพียงคนเดียว เป็นต้น

ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม ( Many - to - Many Relationship )
เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลของสองเอนติตี้ในลักษณะแบบกลุ่มต่อกลุ่ม เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างคำสั่งซื้อกับสินค้าเป็นแบบกลุ่มต่อกลุ่ม คือ แต่ละคำสั่งซื้ออาจสั่งซื้อสินค้าได้มากกว่า 1 ชนิด และในสินค้าแต่ละชนิดอาจปรากฏอยู่ในคำสั่งซื้อได้มากกว่า 1 คำสั่งซื้อ
เอนทิตี้ใบสั่งซื้อแต่ละใบจะสามารถสั่งสินค้าได้มากกว่าหนึ่งชนิด ความสัมพันธ์ของข้อมูลจากเอนทิตี้ใบสั่งซื้อไปยังเอนทิตี้สินค้า จึงเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม (1:m) ในขณะที่สินค้าแต่ละชนิด จะถูกสั่งอยู่ในใบสั่งซื้อหลายใบ ความสัมพันธ์ของข้อมูลจากเอนทิตี้สินค้าไปยังอินทิตี้ใบสั่งซื้อ จึงเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม (1:n) ดังนั้นความสัมพันธ์ของเอนทิตี้ทั้งสอง จึงเป็นแบบกลุ่มต่อกลุ่ม (m:n)
จากคำศัพท์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูลที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงอาจให้นิยามของฐานข้อมูลในอีกลักษณะได้ว่า “ฐานข้อมูล” อาจหมายถึง โครงสร้างสารสนเทศ ที่ประกอบด้วยหลาย ๆ เอนทิตี้ที่มีความสัมพันธ์กัน

Internet เบื้องต้น

ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

}  พ.ศ. 2512   กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา ได้ก่อตั้ง  ระบบเครือข่าย ARPANET ( Advance Research Project Agency Network)   สำหรับการสื่อสารของทหาร และได้เชื่อมต่อกับ มหาวิทยาลัย 4 แห่ง
}  พ.ศ. 2528  มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (The National Science Foundation ) ของสหรัฐ ได้วางระบบเครือข่ายขึ้นมาอีกระบบหนึ่ง เรียกว่า NSFNet ซึ่งประกอบด้วยซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 5 เครื่องใน 5 รัฐ เชื่อมต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา และค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และมีการใช้มาตรฐาน TCP/IP เป็นมาตรฐานหลักในการรับส่งข้อมูล
}  พ.ศ. 2530 เครือข่าย ARPANET ได้รวมกับ NSFNET และลดบทบาทตัวเองลงมา เปลี่ยนไปใช้บทบาทของ NSFNet แทน และเลิกระบบ ARPANET ในปีพ.ศ. 2534
}  พ.ศ. 2534  World Wide Web (WWW) ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยสถาบันวิจัยยุโรป มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศ
}   4 – 5 ปี ต่อมา มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตถึง 30 ล้านคน  บริษัทต่าง ๆ เห็นโอกาสทางธุรกิจจึงได้สร้างเว็บไซต์ของตนขึ้นเพื่อเสนอข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทของตน และ มีบริการจากอินเทอร์เน็ตมากมาย ที่ได้รับความนิยม
ในปัจจุบัน
ประวัติ Internet ในประเทศไทย
}  พ.ศ. 2529 อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) ร่วมกับอาจารย์โทโมโนริ คิมูระ  ร่วมสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ทำการรับส่งอีเมล์กับมหาวิทยาลัยโตเกียว และมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น
}  พ.ศ. 2530 มีการเชื่อมต่อจากมหาวิทยาลัย ในประเทศไทยไปยังมหาวิทยาลัยในประเทศออสเตรเลีย โดยใช้สายโทรศัพท์
}  พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)  ได้เชื่อมต่อเครือข่ายไทยสารเข้ากับมหาวิทยาลัยและองค์กรในประเทศ 6 แห่ง
}  พ.ศ. 2538 กำเนิด บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของไทย

อินเทอร์เน็ตทำงานอย่างไร

สถิติผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย



ตัวอย่าง Package ของ TT&T
IP Address
}  เป็นหมายเลขประจำตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย   ประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุดที่คั่นกันด้วยเครื่องหมายจุด(.) เช่น 172.16.254.1ตัวเลขในแต่ละชุดจะมีขนาด 8 บิต แต่ละชุดจึงมีค่าตัวเลขได้ตั้งแต่ 0 ถึง 255

Domain Name
}  Domain Name คือชื่อที่ใช้ในการอ้างอิงเพื่อไปยัง Website ต่างๆ ที่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตชื่อที่ใช้ต้องเป็นชื่อที่ไม่มีใครในโลกใช้เพราะถ้ามีคนใช้ชื่อใดแล้วเราจะไปจดชื่อซ้ำไม่ได้
}  เนื่องจาก IP Address อยู่ในรูปของตัวเลขซึ่งยากแก่การจดจำดังนั้นจึงเป็นการสะดวกกว่าที่จะใช้ชื่อหรือกลุ่มของตัวอักษร ซึ่งก็คือ Domain Name ในการอ้างอิงแทน โดยจะอาศัย DNS Server มาช่วยจับคู่ IP Address และ Domain name เข้าด้วยกัน ดังนั้นเมื่อมีผู้ต้องการที่จะเรียกดู Website ของท่าน ไม่ว่าจะทราบ IP Address หรือ Domain name เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ผิดพลาด
รหัสที่ใช้แทนใน Domain Name
}  . Top Level Domain Name  (ต่างประเทศ)
      .COM ใช้ทำเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป รวมทั้งเว็บไซต์ส่วนตัว และมีบางครั้งนำไปใช้ทำเว็บไซต์ (web site) ประเภทอื่นๆ ด้วย
      .NET ใช้ทำเว็บไซต์เกี่ยวกับระบบเน็ตเวิร์ค (network) ของคอมพิวเตอร์ หรือเว็บไซต์บริการอินเทอร์เน็ต แต่บางครั้งก็นำไปใช้ด้านอื่นด้วย
      .ORG ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ บางครั้งก็มีการจดทะเบียนนำไปใช้กับเว็บไซต์ประเภทอื่นด้วย
}  2. Local Domain Name (ภายในประเทศต่าง ๆ )

Browser
}  Browser คือ ซอฟท์แวร์ที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตใช้เพื่อเรียกดูข้อมูลบน WWW หรือ เป็นโปรแกรมสำหรับแสดงเว็บเพจนั่นเอง  โดยหน้าเว็บเพจจะถูกเขียนด้วยภาษา HTML และถูกแปลความหมายด้วย Browser


องค์ประกอบของการพัฒนาเว็บไซต์
}  Hardware
      เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่ทำหน้าที่ให้บริการ (Server) เครื่องเรียกใช้บริการ(Client) เราเตอร์  โมเด็ม 
}  Software
      HTML editor
      Server-side script  เช่น PHP , ASP
      Client-side script  เช่น JavaScript , AJAX
      Web server application เช่น  Apache , IIS , PWS
      ซอฟท์แวร์มัลติมีเดีย
}  ระบบการจัดการฐานข้อมูล (Database Management System)
      MySQL
      MS Access
      Oracle
}  เป็นการเชื่อมต่อในรูปแบบที่เรียกว่า Client-Server
}  Client คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นฝ่ายขอรับบริการ  เช่นขอเรียกดู Web Page  ขอแฟ้มข้อมูล ต่าง ๆ
}  Server คือเครื่องผู้ให้บริการตามที่ client ร้องขอมา เช่น Web Server เป็นเครื่องที่ให้บริการ Web    ,   Mail server สำหรับให้บริการ  E - mail
World Wide Web
}  World Wide Web : WWW  เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต  โดยประกอบด้วยเอกสารที่รวบรวมข้อมูลข่าวสารไว้จำนวนมากที่เก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ทั่วโลก 
}  โดยข้อมูลบน WWW อาจอยู่ในรูปแบบของ ข้อความ  ภาพ เสียง หรือ มัลติมีเดีย
}  เรียกสั้น ๆ ว่า web
}  ใช้มาตรฐานการสื่อสาร เอชทีทีพี (HTTP protocol )
}  โดยจะแสดงผลผ่าน Web browser
}  Web page คือ เอกสารบนเว็บที่สามารถแสดงข้อมูลหรือสารสนเทศที่เป็นข้อความ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว โดยเก็บอยู่ในรูปของ ไฟล์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถเข้าชม Web page แต่ละหน้า โดยใช้ Web Browser เรียก URL (Uniform Resource Locator) ของหน้าเว็บนั้น
}  เช่น URL
            HTTP://WWW.npru.ac.th/science/index.html
URL (Uniform Resource Locator)
}  URL เป็นการระบุตำแหน่งของแฟ้มข้อมูลใน Internet
}  ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก มีรูปแบบการเขียนดังนี้ 
                                  Service://node/path
}  Service หมายถึง ชนิดหรือวิธีการที่จะใช้ในการนำแฟ้มนั้นมา
}  Node เป็นชื่อของเครื่อง (domain name) ซึ่งมีแฟ้มข้อมูลที่ต้องการเก็บอยู่
}  Path เป็นส่วนของชื่อและตำแหน่งของแฟ้มในเครื่องนั้น
}  HTTP://WWW.npru.ac.th/science/index.html
มาตรฐานการสื่อสาร TCP/IP
}  TCP/IP : Transmission Control Protocol / Internet Protocol  เป็นมาตรฐานในการสื่อสาร ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้ และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ แบ่งได้ 2 ส่วนคือ  TCP  และ  IP
}  TCP  เป็นการเชื่อมต่อในระดับโปรแกรมประยุกต์ โดยการส่งการร้องขอการเชื่อมต่อ และเป็นการเชื่อมต่อแบบสองทาง (full-duplex communication)
}  IP เป็นการสื่อสารโดยไม่มีการเชื่อมต่อค้างไว้  โดยเป็นการส่งข้อความที่อยู่ในลักษณะของ Packet  ไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น  ๆ ที่เป็นจุดหมายปลายทาง
การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต
}  World Wide Web(WWW)
      บริการเข้าถึงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน
}  Electronic Mail(E-Mail)
      บริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ สามารถส่ง ข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ไปพร้อมกับจดหมายได้
}  Chat
      บริการสนทนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้งานสามารถพูดคุยโต้ตอบกันได้โดยทันที
}  File Transfer Protocol (FTP)
      บริการขนถ่ายแฟ้มข้อมูล ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
}  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เชื่อมต่อกันทั่วโลกผ่าน สายสัญญาณโทรศัพท์ ใยแก้วนำแสง (fiber optic) สัญญาณดาวเทียม สัญญาณไมโครเวฟ
ISP ( Internet Service Provider) คือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเชื่อมโยงกัน โดยมีทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ เช่น Loxinfo , A-Net , Uninet , True
ลักษณะการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
}  การเชื่อมต่อแบบบุคคล
}  ใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้าน  หรือที่ทำงาน เชื่อมต่อผ่านสารโทรศัพท์ หรือ แบบไร้สาย โดยใช้ Modem โดยเชื่อมต่อกับ ISP  ซึ่งจ่ายค่าบริการเป็นชั่วโมง หรือ รายเดือน
}  การเชื่อมต่อแบบองค์กร
}  องค์กรที่มีเครือข่ายภายในอยู่แล้ว สามารถเชื่อมต่อกับ ISP โดยอาศัยอุปกรณ์เราเตอร์ (router)  โดยสามารถเลือกการเชื่อมต่อสัญญาณได้หลายรูปแบบ เช่น สายวงจรเช่า (leased line)   , ระบบวงจรไอเอสดีเอ็น (ISDN) ,ระบบดาวเทียม ระบบไมโครเวฟ
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
Hi-speed Internet
}  ADSL (Asymmetic Digital Subsciber Line) เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงโดยสามารถสื่อสารโดยใช้ สายโทรศัพท์ โดยใช้  ADSL Modem 
}  ข้อดีคือสามารถใช้งานโทรศัพท์พร้อมกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้
}  ความเร็ว  2048/512  Kbps หมายถึง
}  ความเร็วในการ Download 2048 Kbps
}  ความเร็วในการ Upload 512 Kbps